ผลงานคุณภาพ

ผลงานประจำปีการศึกษา 2555 ที่คณะภาคภูมิใจ

ด้านการผลิตบัณฑิต 

  • ในปีการศึกษา 2555 สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพได้รับการอนุมัติเปิดหลักสูตร 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) ซึ่งเปิดรับนิสิตใหม่ในปีการศึกษา 2556 นี้ ทุกหลักสูตรมีการผลิตบัณฑิตที่มี การบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการโดยอาจารย์ผู้สอน และมีวิทยากรพิเศษจากหน่วยงานภายนอกมาให้ความรู้แก่นิสิตในหลายรายวิชา รวมทั้งมีการพานิสิตไปทัศนศึกษาเพื่อเปิดโลกการเรียนรู้ให้นิสิตในทุกสาขาวิชาทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา
  • วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิให้ความรู้แก่นิสิตในรายวิชาพืชอาหารสัตว์และการจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
  • การบรรยายพิเศษในรายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
  • นิสิตเข้าร่วมอบรมในโครงการอบรม “แผนปฏิบัติการบำรุงรักษาสวนและการกรีดยางอย่างถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิต”
  • การศึกษาดูงานนิสิตปริญญาตรีสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ
  • การศึกษาดูงานนิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ

ด้านการวิจัย 

  • บุคลากรในสาขาได้รับทุนวิจัยจากหลายแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอก และมีความหลากหลายของสาขาที่ทำการวิจัย ผลงานด้านการวิจัยได้รับการยอมรับทั้ง การตีพิมพ์ในวารสารและการประชุมทางวิชาการ
  • งานวิจัยการใช้ถั่วอาหารสัตว์ในระบบการปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่ปลูกภายใต้สภาพดินลูกรัง (อ.ชื่นจิต แก้วกัญญา)
  • เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวภายใต้สภาพดินลูกรัง (อ.ดร.พรทิพย์ ศรีมงคล)

ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม

  • สาขามีการจัดให้มีการให้บริการวิชาการที่มีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของชุมชนตามแผนปฏิบัติราชการของคณะฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน ภายนอกทั้งใน และต่างประเทศ (ลาว และเวียดนาม) เชิญอาจารย์ และบุคลากรในสาขา ฯ เป็นผู้ฝึกอบรมและวิทยากรหลายหน่วยงาน รวมทั้งมีโอกาสเข้าร่วม ให้บริการวิชาการทางด้านการเกษตรในงานของจังหวัดสกลนคร นอกจากนี้มีหน่วยงานภายนอกเข้ามาศึกษาดูงานของสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ อีกทั้งมีศูนย์เรียนรู้การใช้หญ้าแฝกในระบบการปลูกพืชเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินลูกรังอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับการบริการวิชาการอีกด้วย
  • โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
  • โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการการผลิตและเพิ่มผลผลิตอ้อย
  • โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการการผลิตอาหารเลี้ยงโคเนื้อด้วยผลพลอยได้จากโรงงานแป้งมัน
  • โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
  • วิทยากรโครงการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านเกษตร คณะเกษตร (อ.ภาคภูมิ ตันเตชสาธิต)
  • วิทยากรโครงการคลินิกวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน ของสวพ.มก.ฉกส. (นางสาวอาภรณ์ ศรีมาตร)
  • วิทยากรโครงการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูดินเค็ม (ดร.วิมลนันทน์ กันเกตุ และ ดร.พรทิพย์ ศรีมงคล)
  • วิทยากรบรรยายวิชาการทางการเกษตร คณะเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  • งานเกษตรแฟร์นนทรีอีสานครั้งที่ 7 ประจำปี 2555
  • งานรวมน้ำใจไทสกลและงานกาชาด จังหวัดสกลนคร ประจำปี 2556
  • คณะครูและนักเรียนโรงเรียนอุดรพัฒนาการ จังหวัดอุดรธานี เดินทางศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการสาขาฯ
  • ศูนย์เรียนรู้การใช้หญ้าแฝกในระบบการปลูกพืชเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินลูกรังอย่างยั่งยืน

ด้านการพัฒนาสาขาฯ 

  • ในปีการศึกษา 2555 สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพได้จัดทำความคาดหวังในอนาคตของสาขาฯ ทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม โดยใช้วิธีระดมความคิดเห็นของบุคลากรภายในสาขาฯ และแบ่งกลุ่มนำเสนอความคาดหวัง และความต้องการของบุคลากรที่ต้องการ ให้เกิดขึ้นในอนาคต เช่น มีห้องปฏิบัติการ ฟาร์มพืช ฟาร์มสัตว์ที่ทันสมัย สามารถรองรับการเรียนการสอนและการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่เป็นผลงานของบุคลากรในสาขา ฯ  และมีศูนย์บริการวิชาการด้านการเกษตรครบวงจร เป็นต้น
  • การระดมความคิดเห็น และนำเสนอเพื่อจัดทำความคาดหวังในอนาคตของสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ

ผลงานอาจารย์ 

  • อาจารย์อริสรา โพธิ์สนาม ได้รับได้รับรางวัลชมเชย ในการประกวดผลงานวิจัยดีเด่นประเภทโปสเตอร์   ระดับวิทยาเขตในหัวข้อเรื่อง ผลของความเป็นกรด-ด่าง ต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเยลลี่เหลวจากเม่า ในโครงการวันนักวิจัย ประจำปี 2555 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

ผลงานวิจัยตีพิมพ์ที่ภาคภูมิใจ

  • อาจารย์สุริยัณห์ สุภาพวานิช มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ที่ได้รับคะแนน Impact Factor จากวารสารวิชาการ ดังนี้
    • วารสารวิชาการ Food and bioprocess technology คะแนน impact factor เท่ากับ 3.703
    • วารสารวิชาการ Postharvest Biology and Technology  คะแนน impact factor เท่ากับ 2.411
    • วารสารวิชาการ International Journal Food Science and Technology คะแนน impact factor เท่ากับ  1.26
  • อาจารย์อัมพร ศรีคราม มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ที่ได้รับคะแนน Impact Factor จากวารสารวิชาการ ดังนี้
    • วารสารวิชาการ Infection and Immunity คะแนน impact factor เท่ากับ 3.99
    • วารสารวิชาการ Vaccine  คะแนน impact factor เท่ากับ 3.46
  • อาจารย์โศรยา แสนเมือง มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ที่ได้รับคะแนน Impact Factor จากวารสารวิชาการ ดังนี้
    • วารสารวิชาการ Food and bioprocess technology   คะแนน impact factor เท่ากับ 3.703
    • วารสารวิชาการ Food engineering   คะแนน impact factor เท่ากับ 2.845

ผลงานของนิสิต 

  • นิสิตได้เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าวฮาง ในงานเกษตรแฟร์นนทรีอีสาน ครั้งที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และได้รับรางวัล ดังนี้
    • รางวัลรองชนะเลิศ ลำดับที่ 1  จำนวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศ ลำดับที่ 2  จำนวน 1 รางวัล

ผลงานประจำปีการศึกษา 2554 ที่คณะภาคภูมิใจ

ด้านการผลิตบัณฑิต 
สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ทรัพยากรเกษตรและการจัดการการผลิต) และ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทรัพยากรเกษตร) สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ อยู่ในระหว่างจัดทำหลักสูตรใหม่จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สัตวศาสตร์) และ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) สาขาเทคโนโลยีการอาหาร จะเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป

  • คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตรได้ผลักดันและกระตุ้นให้อาจารย์ผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพเพื่อประกอบการ เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการในปีการศึกษา 2554 มีอาจารย์ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1 คน คือ อาจารย์เจษฎา เตชมหาศรานนท์ และมีอาจารย์ที่เสนอขอประเมินการเรียนการสอนเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 3 คน คือ อาจารย์ชื่นจิต แก้วกัญญาอาจารย์วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่ และอาจารย์สุรัสวดี พรหมอยู่
  • คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร ได้สนับสนุนให้นิสิตได้พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้โดยส่งนิสิตไปฝึกงานยัง มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ โดยในปีการศึกษา 2554 ได้ส่งนิสิตสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ ไปฝึกงานที่ University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 คน สาขาเทคโนโลยีการอาหาร ได้มุ่งเน้นให้นิสิตมีความคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ กล่าวคือ ในรายวิชาฝึกงาน II สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ได้จัดตั้งบริษัทจำลอง โดยแบ่งออกเป็น 3 บริษัท และทางสาขาเทคโนโลยีการอาหาร ได้ส่งนิสิตเข้าร่วม ประกวดเมนูอาหารในงาน “บอกรักพ่อที่ภูพาน ยลดอกไม้งามที่หนองหาร เที่ยวงานลิ้มรสโคขุน ละมุนน้ำหมากเม่า ใต้แสงดาวหนาวนี้ที่สกลนคร” ซึ่งได้รับรางวัลดังนี้
    บริษัท KU Fresh Food จำกัด

    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1     สุดยอดเมนูไก่ดำภูพาน
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2     สุดยอดเชฟโคขุนโพนยางคำ
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3     สุดยอดเมนูก๋วยเตี๋ยวบกเนื้อย่าง
    • รางวัลชมเชย   สุดยอดเมนูก๋วยเตี๋ยวบกเนื้อย่าง
    • รางวัลชมเชย   สุดยอดเมนูก๋วยเตี๋ยวบกเนื้อย่าง

บริษัท Kaset Driry จำกัด

    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2     สุดยอดเมนูก๋วยเตี๋ยวบกเนื้อย่าง
    • รางวัลชมเชย   สุดยอดเชฟโคขุนโพนยางคำ

ด้านการวิจัย 
บุคลากรสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพได้รับทุนวิจัยจากหลายแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกและมีความหลากหลายของ สาขาที่ทำการวิจัยและผลงาน ด้านการวิจัยได้รับการยอมรับทั้งการตีพิมพ์ในวารสารและการประชุมทางวิชาการการสร้าง ความร่วมมือด้านงานวิจัยกับหน่วยงานภายนอก การสนับสนุนให้อาจารย์เผยแพร่ผลงานวิจัย บุคลากรสาขาเทคโนโลยีการอาหาร ได้รับรางวัลผลงานด้านการวิจัย ดังนี้

  • อาจารย์ ดร.อัมพร  ศรีคราม ได้รับรางวัลลำดับที่ 1 ในการประกวดผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่มีค่า Impact Factor สูงในระดับวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ประจำปี 2554
  • อาจารย์ ดร.สุริยัณห์  สุภาพวานิช  ได้รับรางวัลลำดับที่ 3 ในการประกวดผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่มีค่า Impact Factor สูงในระดับวิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ประจำปี 2554

ด้านการบริการวิชาการ

  • บุคลากรสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพมีกิจกรรมให้บริการวิชาการที่มีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของชุมชนนอกจากนี้ยังมี หน่วยงานภายนอกติดต่อ ให้อาจารย์ในสาขาเป็นผู้ฝึกอบรมและวิทยากรจำนวนมาก การให้บริการวิชาการ กับหน่วยงานภายนอก (โดยอาจารย์ภานุวัฒน์ คัมภีราวัฒน์) การให้บริการวิชาการ (โดย อาจารย์ ดร.วิมลนันทน์ กันเกตุ) การให้บริการวิชาการโดยการมีส่วนร่วมของ นิสิตของสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพการให้บริการวิชาการแบบบูรณาการ 3 คณะและร่วมกับชุมชน โครงการดาวล้อมเดือน บุคลากร สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มีกิจกรรมให้บริการวิชาการ ที่มีความหลากหลายและตรงตามความต้องการ ของชุมชน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน ภายนอกติดต่อให้อาจารย์ ในสาขาเป็นผู้ฝึกอบรมและวิทยากรจำนวนมาก

ด้านบุคลากร 

  • อาจารย์ ดร.สุริยัณห์ สุภาพวานิช ได้รับรางวัลนักวิจัยผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ปี 2554

ผลงานประจำปีการศึกษา 2553 ที่คณะภาคภูมิใจ

ด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ 

  • สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ มีผลงานตีพิมพ์ในรอบปีการศึกษา 2553 จำนวน 11 เรื่อง ได้รับการอ้างอิง (citation) ใน refereed journal จำนวน 12 บทความ
  • สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ มีอัตลักษณ์ด้านงานวิจัยของสาขาที่ชัดเจน คือ “การนำองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อความมั่นคงทางอาหารปลอดภัย” และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์งานวิจัยของคณะมุ่งมั่นความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหาร 9 ยุทธศาสตร์วิจัย ได้แก่ สร้างนวัตกรรมทางการเกษตร (I) พัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตร (Q) เพิ่มผลิตภาพ (P) การเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (E) พัฒนาเทคโนโลยีสะอาดเพื่อการเกษตร (C) การเกษตรที่คำนึงถึงสุขภาพ (H) ความปลอดภัยอาหาร (S) คุณภาพอาหาร (FQ) และการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน (FS)
  • สาขาเทคโนโลยีการอาหาร“การนำองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” และสอดคล้องกับพันธกิจของคณะในหัวข้อ “วิจัยและสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ประเทศ และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ” โดยมีการแปลงเป็นแผนปฏิบัติงานด้านการวิจัย และมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ผลงานวิจัยที่มีการดำเนินงาน มีการรวบรวมเป็นผลงานวิจัยของสาขา และถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจอย่างเป็นรูปธรรม

ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษา 

  • สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสาขา เกี่ยวกับงานวิจัยของสาขา IQPECH
  • สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ ได้จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ของบุคลากรในสาขา เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์จากการไปเรียนรู้จากแหล่งอื่นๆ ร่วมกัน โดยนำเสนอผ่านการประชุมสาขา และ website สาขาเทคโนโลยีการอาหารมีการวางแผนการทำงานด้านประกันคุณภาพที่ดีโดยได้มีการแบ่งส่วนงาน และมอบหมายผู้รับผิดชอบด้านงานประกันคุณภาพอย่างชัดเจน และได้จัดทำแผนงานด้านประกันคุณภาพในแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2553 ของสาขาฯ โดยนำผลการตรวจประกันคุณภาพ ปี 2552 มาปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2553 โดยการจัดทำแผนฯ นั้นเน้นให้บุคลากรทุกท่านมีส่วนร่วม ในการจัดทำ และมีการจัดทำโครงการ “การเตรียมความพร้อมด้านงานประกันคุณภาพรอบ 9 เดือน” โดยจัดโครงการขึ้นในวันที่ 7 มีนาคม 2554 เพื่อให้การจัดเตรียม เอกสารหรือหลักฐานมีความชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

ด้านการจัดการเรียนการสอน 

  • สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ มีการจัดทำหลักสูตรใหม่ที่ได้รับการอนุมัติจำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร วท.บ.(ทรัพยากรเกษตรและการจัดการการผลิต) และหลักสูตร วท.ม. (ทรัพยากรเกษตร) ซึ่งมีกำหนดรับนิสิตเข้าศึกษาตั้งแต่ภาคต้น ปีการศึกษา 2554 สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ กำลังดำเนินโครงการ ปรับปรุงหลักสูตร วท.บ. (ทรัพยากรเกษตร) ซึ่งเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 และใกล้จะครบกำหนดในการปรับปรุงหลักสูตร ตามกรอบระยะเวลาที่คณะกรรมการการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กำหนดไว้ ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร เรียบร้อยแล้ว ในปีการศึกษา 2553 สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ ได้จัดทำโครงการจัดทำหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรควบปริญญา วท.บ.–วท.ม. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร) เพื่อตอบสนองตลาดงานด้านเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรใหม่แล้ว
  • สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีการปรับรายวิชาต่างๆ ให้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (มคอ.)      สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพมีการกระตุ้นให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพเพื่อประกอบการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีอาจารย์จำนวน 1 คน อยู่ในขั้นตอนกระบวนการกำหนดขอตำแหน่งทางวิชาการ รายวิชาของหลักสูตรในสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ มีการออกแบบให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากบุคคล หน่วยงาน และชุมชนภายนอก เช่น วิชาระบบเกษตรผสมผสาน และการฝึกงาน II ซึ่งนิสิตต้องนำเอาความรู้ทางทฤษฎีไปปฏิบัติจริง นอกจากนี้ สาขายังดำเนินโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์นิสิตสู่หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร สาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ มีวิชาที่ให้นิสิตได้เรียน และเข้าใจ เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยได้เปิดการเรียนการสอนในรายวิชาชีวจริยธรรมสาขาเทคโนโลยี การอาหาร ได้สนับสนุนให้นิสิตมีความคิดสร้างสรรค์ในการนำความรู้ที่เรียนมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการให้นิสิตเข้าร่วมการประกวด ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการอาหารดังนี้
    รายวิชาการฝึกงาน II นิสิตชั้นปีที่ 4

    • รายวิชาการฝึกงาน II ได้จัดตั้งบริษัทจำลองโดยแบ่งนิสิตออกเป็น 2 บริษัทและในงาน “ลิ้มรสโคขุน ละมุนนมโคถิ่นภูพาน จิบรสหวานน้ำหมากเม่า ใต้แสงดาวหนาวนี้…ที่สกลนคร” ทางสาขาฯได้ส่งนิสิตเข้าร่วมการประกวด และได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
        • บริษัท KU 67 INTER FOOD ได้รับ 1 รางวัล คือ รางวัลชมเชยสุดยอดเมนูไก่ดำภูพาน จาก “เมนูซั่วไก่ดำ”
        • บริษัท Nontri Food ได้รับ 3 รางวัล คือรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 สุดยอดเชฟโคขุนโพนยางคำ จากเมนู “ละเบ๋อบีฟ” รางวัลชมเชยสุดยอดเชฟโคขุนโพนยางคำ จากเมนู “น้ำพริกเนื้อโคขุนโพนยางคำ” รางวัลชมเชยสุดยอดเมนูก๋วยเตี๋ยวบก

    รายวิชาเทคโนโลยีในกระบวนการแปรรูปอาหาร นิสิตชั้นปีที่ 3

    • ในรายวิชาเทคโนโลยีในกระบวนการแปรรูปอาหารได้ให้นิสิตคิดค้นเมนูการแปรรูปไก่ดำภูพานเพื่อให้นิสิตมีความคิดสร้างสรรค์อีกทั้งเป็นการเน้นผูเรียนเป็นสำคัญ โดยได้ส่งเข้าประกวดในงาน “ลิ้มรสโคขุน ละมุนนมโคถิ่นภูพาน จิบรสหวานน้ำหมากเม่า ใต้แสงดาวหนาวนี้…ที่สกลนคร” ซึ่งนิสิตชั้นปีที่ 3 ได้รับรางวัล 1รางวัลคือ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 สุดยอดเมนูไก่ดำภูพาน จากเมนู “ราเมงไก่ดำ”

ด้านกิจกรรมการพัฒนานิสิต

  • คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตรได้จัดกิจกรรมวิชาการ และกิจกรรมทางสังคม โดยให้นิสิตเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน เพื่อการสร้างประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพ ได้แก่ โครงการค่ายสัตวศาสตร์สัญจร ครั้งที่ 3 และโครงการการเข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติครั้งที่ 28 โดยในอนาคต สาขาจะเป็นเจ้าภาพในการเตรียมความพร้อมงานประเพณี 4จอบของหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร จัดให้มีบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อ ศิษย์เก่า และนิสิตปัจจุบัน ผ่านระบบฐานข้อมูล และเว็บบอร์ด และมีกิจกรรมการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนการดำเนินชีวิตระหว่าง อาจารย์ บุคลากร นิสิตปัจจุบันกับศิษย์เก่าในงาน “ฮักแพงน้องพี่ราตรีคืนสู่เหย้าศิษย์เก่าครั้งที่ 2”
  • คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มีการจัดโครงการกลุ่มเครือข่ายอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อพัฒนานิสิตสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ ปี 2553 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระตุ้นให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ทำหน้าที่ ดูแล และช่วยเหลือนิสิตได้อย่างทั่วถึง คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพทางภาษา, โครงการ Agro–IT รุ่น 5 การพัฒนาศักยภาพทางด้านคอมพิวเตอร์ ในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญ e-learning

งานทำนุศิลปะและวัฒนธรรม

  • คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร จัดโครงการทางด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ โครงการสืบสานประเพณีปลูกข้าว และเกี่ยวข้าว สามัคคีน้องพี่ ทอ. โดยนิสิตสาขาทรัพยากรเกษตรชีวภาพ ได้จัดทำโครงการบำรุงดูแลต้นข้าวก่อนถึงฤดูเก็บเกี่ยว และโครงการสืบสานเกี่ยวข้าวประเพณี สามัคคีน้องพี่ ทอ.ครั้งที่ 2 โดยให้นิสิตที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิตพืช เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ